วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมบัติของจำนวนจริง

สมบัติของจำนวนจริง 
             การนำจำนวนจริงใด ๆ  มากระทำต่อกันในลักษณะ  เช่น  การบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  หรือกระทำด้วยลักษณะพิเศษที่กำหนดขึ้น  แล้วมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะหรือทำนองเดียวกัน  นำมาสรุปเป็นสมบัติเพื่อสะดวกในการนำไปประยุกต์ใช้

              กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
      1. สมบัติการสะท้อน a = a
     2. สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
     3. สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
     4. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน  ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
     5. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc

             จากสมบัติของจำนวนจริงสามารถใช้พิสูจน์ทฤษฎีบทต่อไปนี้ได้
ทฤษฎีบทที่ 1        กฎการตัดออกสำหรับการบวก
               เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
               ถ้า a + c = b + c แล้ว a = b
               ถ้า a + b = a + c แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 2        กฎการตัดออกสำหรับการคูณ
               เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ
               ถ้า ac = bc และ c 0 แล้ว a = b
               ถ้า ab = ac และ a 0 แล้ว b = c
ทฤษฎีบทที่ 3        เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
               a · 0 = 0
               0 · a = 0
ทฤษฎีบทที่ 4        เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
               (-1)a = -a
               a(-1) = -a
  ทฤษฎีบทที่ 5     เมื่อ a, b เป็นจำนวนจริงใดๆ
               ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
ทฤษฎีบทที่ 6        เมื่อ a เป็นจำนวนจริงใดๆ
               a(-b) = -ab
               (-a)b = -ab
               (-a)(-b) = ab